หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท HNP

 

 

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

(Herniated nucleus pulposus : HNP) คือ ภาวะเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากความเสื่อมจากการใช้งานมานาน เช่น การก้มๆ เงยๆ เป็นประจำ ยกของหนักผิดท่า หรือจากอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลังโดยตรง จนทำให้ เกิดการฉีกขาดของเยื่อหุ้มชั้นนอกของหมอนรองกระดูก ( Annulus fibrosus ) ทำให้ของเหลวลักษณะคล้าย วุ้น (Nucleus pulposus) ที่อยู่ตรงกลาง เคลื่อนออกมากดเบียดเส้นประสาท (Nerve root) มักพบในผู้ป่วย อายุระหว่าง 21-50 ปี (อายุน้อยกว่า 20 ปี เยื่อหุ้มชั้นนอกของหมอนรองกระดูก ( Annulus fibrosus ) ยังแข็งแรงความยืดหยุ่นสูง ส่วนผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี องเหลวลักษณะคล้ายวุ้น (Nucleus pulposus) ที่อยู่ตรงกลางหมอนรองกระดูก จะมีน้ำน้อยลงและมีความยืดหยุ่นลดลง ทำให้เกิดการฉีกขาด ของเยื่อหุ้มได้ง่าย หมอนรองกระดูกจึงเคลื่อนออกมากดเส้นประสาท มักพบในระดับ L4-5 และ L5-S1 )

สาเหตุหมอนรองกระดูกทับเส้น

  • การใช้งานที่มากเกินไป เช่น ยกของหนัก
  • การทำงานผิดท่า เช่น การก้ม ๆ เงย ๆ หรือ ก้มยกของโดยไม่ระมัดระวัง ( ท่าก้มเป็นท่าทางที่เสียเปรียบ เชิงกลค่อนข้างมาก ทำให้เวลายกของหนัก หมอนรองกระดูกจะรับน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักหลายเท่าตัว จึงเกิด การบาดเจ็บได้ง่าย )
  • ความอ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง ทำให้หลังแอ่น เมื่อหลังแอ่นมาก ๆ หมอนรองกระดูกจะได้รับแรงกระทำ มากขึ้น จึงทำให้มีโอกาสเสื่อมหรือแตกได้ง่าย
  • กลุ่มที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย คือกลุ่มที่ทำงานนั่งโต๊ะนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ กระดูกสันหลังเสียสมดุลไป ซึ่งกล้ามเนื้อจะต้องสมดุลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายจะมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ มี โอกาสบาดเจ็บต่อหมอนรองกระดูกสันหลังได้ง่ายขึ้น
  • ความเสื่อมตามวัย อายุที่เพิ่มมากขึ้นมีโอกาสที่หมอนรองกระดูกสันหลังจะเสื่อมมากขึ้น

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้น ที่พบบ่อย

  • ปวดเอว
  • ปวดหลังส่วนล่าง และปวดสะโพก หรือ กระเบ็นเหน็บ
  • มักปวดร้าวไปตามต้นขาด้านหลัง ข้างใดข้างหนึ่งหรือขาทั้ง 2 ข้าง
  • ปวดขาทั้ง 2 ข้าง มาก ๆ มักเคลื่อนออกมาชิ้นใหญ่และไปกดทับเส้นประสาท ปวดร้าวถึงขา หรือถึง ปลายเท้า
  • กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
  • ชาตาม Dermatome (Nerve root) ถูกกด (ชาหนักตามระยางค์แขน ขา)

การรักษา หมอนรองกระดูกทับเส้น

  • การประคบร้อนเพื่อลดปวด ประมาณ 10-15 นาที
  • PMS เป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้เครื่องมือในการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มากระตุ้นเส้นประสาท บริเวณ กล้ามเนื้อคอ บ่า สะบัก แขน หลัง และขา ซึ่งการรักษาจะช่วยลดอาการปวด อาการชา และการอักเสบจาก การทำงานที่ผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายให้ดีขึ้น
  • US เป็นการรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่ให้ความร้อนลึก ใช้ลดอาการปวด ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อในชั้นลึก และช่วยเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมทั้งคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • การดึงหลัง (Pelvic traction) จะช่วยให้หมอนรองกระดูกกลับเข้าที่ได้ เนื่องจากการดึงให้กระดูกสันหลัง แยกห่างออกจากกัน ทำให้ลดแรงกดเบียดต่อตัวหมอนรองกระดูกได้

  • Manual techniques เป็นการทำกายภาพบำบัดด้วยมือ เพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวด และเพิ่มความยืดหยุ่น ให้แก่ร่างกาย เช่น การนวดคลายกล้ามเนื้อ (muscle release)

  • การขยับข้อต่อ (mobilization เพื่อ เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อ และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อรอบ ข้อต่อ)
  • การออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) เพื่อลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอและหลัง